Biometric ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล

Image result for biometric


Biometricคือเทคโนโลยีอะไร

           หากจะกล่าวกันง่าย ๆ Biometricก็เป็นการพิสูจน์หรือยืนยันอัตลักษณ์ตัวบุคคล แต่มีความพิเศษตรงที่ว่าจะมีการผสานเทคโนโลยีหลาย ๆ สาขาเข้ามา อย่าง เทคโนโลยีด้านชีวภาพ เทคโนโลยีและความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ด้านโครงสร้างและสรีระวิทยา รวมไปถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน โดยจะนำสิ่งเหล่านี้มาจดจำและวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของบุคคลแต่ละคน เช่น ลายนิ้วมือของแต่ละคน รูม่านตา โครงสร้างใบหน้า จากนั้นก็จะมีการนำเข้าข้อมูลไปเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล เพื่อใช้ยืนยันตัวตนของบุคคลคนนั้นในกรณีต่าง ๆ ซึ่ง Biometricนั้นถูกนำมาใช้เพื่อทดแทนเรื่องการเข้ารหัสความปลอดภัยแบบ Username และ Passwordที่เคยใช้กันมาแบบดั้งเดิม เพราะการเข้ารหัสแบบนี้นั้น มีโอกาสเจาะระบบได้ หรือบางทีคน ๆ นั้นลืมรหัสก็จะเกิดปัญหายุ่งยากตามมา ไม่สามารถเข้าใช้งานหรือใช้บริการต่าง ๆ ได้นั่นเอง


Biometricเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย

          ในยุคก่อนเทคโนโลยียืนยันอัตลักษณ์ตัวบุคคลแบบนี้จะมีใช้กันก็ในเฉพาะเรื่องการตรวจคนเข้าเมือง หรือการใช้ในห้องแล็บต่าง ๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยี Biometricทุกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคธุรกิจและภาคประชาชนคนทั่วไป และในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอย่างคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนนี่เองที่ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวนี้ลงไปถึงผู้บริโภครายบุคคล เพราะเราจะเห็นว่าสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ทุกเครื่องล้วนมีเทคโนโลยีสแกนนิ้วและสแกนม่านตาเพื่อปลดล็อคเครื่องกันหมดแล้ว สำหรับในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก ก็เริ่มนำระบบนี้ไปใช้เพิ่มความปลอดภัยให้กับสถานที่ ทรัพย์สินและข้อมูลของตนเองด้วย บางบริษัท มีห้อง Serverเล็ก ๆ ของตนเอง หน้าประตูยังมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยแบบนี้ อย่างการต้องสแกนนิ้วหรือสแกนม่านตาก่อนเข้าใช้งานในห้องก็มีด้วย เรียกว่าเทคโนโลยีนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นทำให้เราสามารถรักษาความปลอดภัยและรักษาความเป็นส่วนตัวกันได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

เงื่อนไขในการทำไบโอเมตทริกซ์
  • ในประเทศไทยจะถูกขอให้ดำเนินการให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของตนในขณะที่ยื่นคำขอวีซ่า เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอนั้นได้รับการยกเว้นจากโปรแกรมการให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
  • ผู้ยื่นคำขอวีซ่าทางไปรษณีย์ไปที่สถานทูตวีซ่าออสเตรเลีย หรือที่ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลีย จะได้รับหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอ ให้ท่านเดินทางไปที่ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลียด้วยตนเองเพื่อให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
  • ผู้ยื่นคำขอวีซ่าทางออนไลน์ จะได้รับหนังสือแจ้งผ่านทางอีเมลล์ ให้ท่านเดินทางไปที่ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลียด้วยตนเองเพื่อให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล
  • ในการถ่ายรูปนั้น จะต้องเห็นใบหน้าของท่านโดยชัดเจน 
    • ไม่สามารถให้ผมตกลงมาปรกตาของท่านได้
    • ไม่สวมหมวกหรือผ้าพันคอหรือสิ่งใดๆ ที่จะบดบังใบหน้า ผม หรือคอ (เว้นแต่ในกรณีของการสวมสิ่งคลุมศีรษะตามหลักศาสนาตามรายละเอียดข้างล่างนี้)
    • ถ้าสวมสิ่งคลุมศีรษะหรือคอตามหลักศาสนา จะต้องให้เห็นใบหน้านั้นโดยชัดเจน นับแต่ส่วนล่างของคางไปจนถึงคิ้ว รวมถึงแก้มทั้งสองข้างด้วย ถ้าเป็นไปได้ จะต้องให้เห็นหูทั้งสองข้าง
    • บางครั้งจะต้องถอดแว่นตาหรือคอนแท็กเลนส์ขณะถ่ายภาพ
  • ถ้าปลายนิ้วมือได้รับบาดเจ็บ ควรแจ้งให้ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลียทราบว่าเมื่อใดอาการบาดเจ็บนั้นจะหายเป็นปกติดี
  • ถ้ามีการประดับ เช่น การเจิมหน้าผาก (Mehdi) ควรแจ้งให้ศูนย์ยื่นวีซ่าออสเตรเลียทราบ ในขณะที่ยื่นคำขอวีซ่าว่าจะทำการสแกนได้หรือไม่อย่างไร
  • ถ้าปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล คำขอวีซ่าจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และจะถูกรายงานไปยังสถานทูตออสเตรเลียต่อไป
เอกสารที่ต้องใช้ในการทำไบโอเมตทริกซ์
  • เอกสารสำหรับทำไบโอเมตริก IMMI s257A (s40) Requirement to Provide PIDs จะได้หลังจากที่ยื่นวีซ่าเรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือเดินทางเล่มจริง ที่ใช้ในการขอวีซ่า (ไม่สามารถใช้สำเนาได้)
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • ใบนัด VIF – Appointment Letter
  • ค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนเงิน 851.- บาท ค่าธรรมเนียมสามารถชำระเป็นเงินสด หรือแคชเชียร์เช็ค หรือแบงค์ดราฟท์ธนาคาร ที่สั่งจ่ายในนาม บริษัท วีเอฟเอส (ประเทศไทย) จำกัด
  • ผู้เยาว์ที่อายุ 16 ปีและ 17 ปีต้องมีบิดามารดา/ผู้ปกครองตามกฎหมายให้ความยินยอมในการเดินทางด้วย
  • ผู้เยาว์ที่อายุ 5 ปี ถึง 15 ปีต้องมีบิดามารดา/ผู้ปกครองตามกฎหมายมาให้ความยินยอมในการเดินทางด้วย และ จำเป็นต้องมีบิดามารดา/ผู้ปกครองตามกฎหมายอยู่ด้วยในขณะให้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล

ประเภทของของการตรวจสอบข้อมูลไบโอเมตริกซ์

1.การจดจําลายนิ้วมือ 
         พื้นผิวของนิ้วเป็นโครงสร้างแบบแนวหรือเป็นคลื่นหรือเรียกว่า “ลายนิ้วมือ” ซึ่งลายนิ้วมือนี้จะอ่านโดยเซ็นเซอร์และบันทึกเป็นข้อมูลภาพ
         ผู้ใช้ให้เครื่องอ่านลายนิ้วมือเมื่อพวกเขาเข้างานหรือออกจากที่ทํางาน จากนั้นเครื่องจะเปรียบเทียบกับข้อมูลลายนิ้วมือที่ได้รับการบันทึกก่อนหน้าและจะตัดสินว่าเป็นบุคคลนั้นด้วยตนเองหรือไม่ หลังจากยืนยันด้วยตัวตนของคุณแล้ว เวลาของการลงทะเบียนจะถูกป้อนเวลาเข้างานและเวลาออกจากที่ทํางาน หลังจากนั้นเครื่องจะรายงานผลเวลาเข้าและออก
2.การจดจํารูปแบบหลอดเลือดดำ                                                                                       
           บนผิวกายที่มีเลือดไหลผ่าน เรียกว่า “Vein Pattern” หรือรูปแบบหลอดเลือดํา โครงสร้างเส้นเลือดในร่างกายมนุษย์ไม่เหมือนกันและเนื่องจากแต่ละคนมีคุณสมบัติที่ต่างกัน จึงสามารถนํามาใช้ในในการรับรู้ของไบโอเมตริกซ์ได้
        วิธีการนี้คือให้มือของคุณสัมผัสรังสีอินฟราเรด หลังจากนั้นเครื่องจะตัดสินด้วยแรงเงาของเส้นที่เปลี่ยนเป็นสีดํา
         เช่นเดียวกับการจดจําลายนิ้วมือ เมื่อสแกนหลอดเลือดดําเครื่องจะเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าเพื่อการยืนยันตัวตนของคุณ ในการระบุข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่มีความแม่นยําสูงซึ่งเป็นคุณลักษณะของการจดจํารูปแบบเส้นเลือดดํามากกว่าการตรวจสอบลายนิ้วมือ
3.การจดจำใบหน้า                                                                                                         
            การจดจําใบหน้าคือการตรวจสอบเพื่อการเปรียบเทียบจับคู่กับข้อมูลรูปภาพหลังจากการอ่านใบหน้าทั้งหมดของผู้ใช้เพื่อเป็นการยืนยัน คุณลักษณะของระบบนี้ไม่จําเป็นที่ต้องใช้เครื่องที่สแกนด้วยลายนิ้วมือหรือมือ  ปัจจุบันมีการวิจัยปรับคุณสมบัติเพิ่มทางเทคโนโลยีที่รวมถึงการแสดงออกทางใบหน้าและ อายุ เป็นต้น
ข้อดีของการนำเอาไบโอเมตริกซ์ใช้ในการตรวจสอบหรือ ระบุตัวบุคคล
    • การใช้ไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ ไม่จำเป็นต้องใช้ความจำ หรือจำเป็นต้องถือบัตรผ่านใดๆ ทำให้สะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพกบัตร และต้องจำรหัสผ่าน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความ ปลอดภัย และป้องกันการสูญหายของบัตรผ่าน หรือการลักลอบนำเอารหัสผ่านไปใช้
    • ไบโอเมตริกซ์ ยากต่อการปลอมแปลง และยากต่อการลักลอบนำไปใช้
    • การใช้ไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ เช่นในกรณีของการใช้รหัสผ่าน หรือบัตรผ่าน เจ้าของบัตรอาจอ้างได้ว่ารหัสผ่านหรือบัตรถูกผู้อื่นลักลอบนำไปใช้ แต่ถ้าใช้ การใช้การตรวจสอบหรือระบุตัวบุคคลด้วยไบโอเมตริกซ์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
    • ช่วยลดค่าใช้จ่าย เช่น ช่วยในการป้องกันพนักงานลงเวลาแทนกัน (Buddy Punching)
    • ใช้ง่าย
    • เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้
    • มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เนื่องจากไม่ต้องนำอวัยวะที่ไวต่อการติดเชื้อ (เช่น ดวงตา) ไปสัมผัสกับอุปกรณ์ ที่ใช้ในการอ่านข้อมูลไบโอเมตริกซ์
ข้อเสียของการนำเอาไบโอเมตริกซ์ใช้ในการตรวจสอบหรือ ระบุตัวบุคคล
    • มีราคาแพง
    • ระบบมีความซับซ้อนสูง
    • ยังไม่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย
การนำเอาไบโอเมตริกซ์มาประยุกต์ใช้
           การนำเอาไบโอเมตริกซ์มาช่วยส่วนใหญ่เป็นงานที่มีความจำเป็นในการตรวจสอบ และระบุตัวบุคคล อีกนัยหนึ่งคือเป็นงาน ที่ต้องมีความมั่นใจว่า บุคคลที่เข้ามาใช้งานนั้นเป็นบุคคลที่ผู้นั้นระบุว่าตนเองเป็น รวมถึงงานที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการระบุตัวผู้ใช้ การประยุกต์ใช้งาน ไบโอเมตริกซ์นั้นเหมาะสมทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน ตัวอย่างของหน่วยงานหรือองค์กร ที่สามารถนำมาเอา ไบโอเมตริกซ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ เช่น
การควบคุมการเข้าออกสถานที่ / หรือการใช้ตรวจสอบเวลาทำงาน
            ซึ่งสามารถนำไปใช้ สถานที่หรือเขตที่หวงห้าม โดยนำไบโอเมตริกซ์มาช่วย เช่น การตรวจสอบการผ่านเข้าออกโดยใช้ลายนิ้วมือ รูปหน้า ลักษณะของเรตินาภายในดวงตา หรืออาจนำไปใช้กับการควบคุม การเข้าออกสถานที่ ได้แก่ การตรวจสอบเวลาทำงานของพนักงาน ซึ่งระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ การเซ็นชื่อ, การใช้บัตรตอกลงเวลา และการใช้บัตรแถบแม่เหล็ก การเซ็นชื่อนั้น ควบคุมเวลาได้ไม่ถูกต้อง แน่นอน การใช้บัตรตอกลงเวลา ต้องเสียเวลาการนำเอาบัตรตอกมาคำนวณหาเวลาการทำงาน ดังนั้นจึงมีการนำเอาบัตรแถบแม่เหล็กมาใช้ ซึ่งง่ายต่อการคำนวณหาเวลาทำงาน เพราะสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่การใช้บัตรตอก หรือการใช้บัตรแถบแม่เหล็ก มีข้อบกพร่องที่สำคัญคือ พนักงานสามารถตอกบัตรแทนกัน (Buddy Punching) ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับองค์กรทุกองค์กรเป็นอย่างมาก ดังนั้นการนำเอาไบโอเมตริกซ์มาช่วยในการตรวจสอบเวลาทำงานจึงเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้เพราะยากต่อการปลอมแปลง และเพิ่มความสะดวกต่อพนักงาน เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการลืม หรือการหายของบัตรแถบแม่เหล็ก
การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย
          เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Notebook หลายๆรุ่น มีการนำเอาเทคโนโลยี ไบโอเมตริกซ์ เช่น การใช้ลายนิ้วมือมาช่วยในการใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับบุคคลที่ต้องการความปลอดภัยในการรักษาข้อมูล เพราะถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกขโมย แต่ผู้ที่ขโมยไปก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยการใช้ลายนิ้วมือมาช่วยมีอยู่หลักๆสองประเภท คือเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ในตัวเครื่องอยู่แล้ว และ ประเภทที่ใช้ PC Card ที่มีตัวตรวจจับลายนิ้วมืออยู่ ใส่เข้าไปในช่อง PC Card ของเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook โดยที่ลายนิ้วมือจะเป็นการใช้ทดแทนการใช้รหัสผ่าน (Password)
           นอกจากนี้การใช้งาน คอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย จะต้องให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านก่อนการใช้งานทุกครั้ง แต่เนื่องจากรหัสผ่านสามารถถูกคาดเดา หรือขโมย หรือ ถูกยืมไปใช้ได้ง่าย ดังนั้นการใช้ไบโอเมตริกซ์มาเป็นตัวจัดการเริ่มเข้ามาใช้งานของผู้ใช้ระบบเครือข่าย จึงเป็นสิ่งที่สามารถ ยืนยันได้อย่างแท้จริงว่า ผู้ที่ใช้ระบบเครือข่ายอยู่คือผู้ที่มีสิทธิในการใช้งานได้จริง เทคโนโลยีที่ใช้ได้กับด้านนี้นอกจากการใช้ลายนิ้วมือแล้ว วิธีที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากอย่างหนึ่งคือ การใช้ Keystroke dynamics หรือ การตรวจสอบตัวบุคคลโดยใช้ลักษณะของการพิมพ์ ทั้งนี้เพราะการเข้าไปใช้งานระบบเครือข่าย ผู้ใช้ต้องทำการพิมพ์ชื่อและรหัสอยู่แล้ว การตรวจสอบตัวบุคคล โดยใช้ลักษณะของการพิมพ์ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ต้องให้ผู้ใช้ทำอะไรเพิ่มเติม (เช่นไม่ต้องตรวจสอบลายนิ้วมือ) อีกทั้งวิธีการตรวจสอบแบบนี้ยังไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติมใดๆ
 

อ้างอิง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Blockchain Technology

VR ระบบเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง